ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกภาษาไทยค๊าาา...

ใบไม้

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

ความซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์ สุจริตเป็นส่วนหนึ่งของความจริงใจ  การที่เราจะมีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น  เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองเสียก่อน  แท้จริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์หรอก  แต่ให้เป็นคนมีความจริงใจก็สามารถมีความซื่อสัตย์ได้แล้ว  เพราะเมื่อเรามีความจริงใจผลพลอยได้คือความซื่อสัตย์  การที่เรามีความซื่อสัตย์ต่อผ๔อื่นไม่ได้  ก็เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
ธรรมะว่าด้วยความซื่อสัตย์ก็มีลักษณะเหมือนธรรมะข้ออื่น  คือต้องทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นโดยเริ่มต้นที่ตนเองก่อน  คนถ้าไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองแล้ว  โดยมักคิดว่าถ้าตนเองทำอะไรผิดแล้วปกปิดไว้มิให้คนอื่นล่วงรู้ในสิ่งที่ตนทำ  โดยมักจะคิดว่าถ้าไม่บอกว่าเราทำอะไรผิดบ้างคนอื่นก็จะไม่รู้  นี่คือความไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง  การทำให้ตนมีความซื่อสัตย์อย่างแท้จริงนั้นเป็นเรื่องยาก  คนที่จะมีความซื่อสัตย์ได้นั้นต้องมีความจริงใจต่อตนเอง  ถ้าจะให้ดีคือต้องกล้าประจานความชั่วที่ตนมีต่อหน้าผู้อื่น  คนฟังยิ่งมากยิ่งดี  ถ้าเราทำได้รับรองว่าเราจะมีความซื่อสัตย์แน่นอน  แต่ถ้าทำไม่ได้ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าจะเอาความซื่อสัตย์ต่อตนเองมาจากไหน  เมื่อเราไม่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองก็ไม่สามารถซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นและส่วนรวมได้เลย
การจะเรียกร้องสิ่งใดจากผู้ใดจึงไม่ต้องไปเรียกร้องจากผู้อื่น  แต่ให้เริ่มต้นที่ตนเองทั้งสิ้น  หากอยากให้สังคมสงบแต่ละคนต้องทำวิปัสนากรรมฐาน  หากเราไปเรียกร้องจากคนอื่นให้คนอื่นเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ย่อมไม่อาจทำได้  ทุกคนต้องเรียกร้องเอาจากตนเองโดยถามว่าตนเองทำได้หรือยัง  การเรียกร้องสิ่งใดจากผู้อื่นคือการพึ่งคนอื่นอย่างกลาย ๆ  นี่เอง  การที่เราไปเรียกร้องให้คนอื่นทำนั่นหมายความว่าตนเองต้องทำให้ได้ตามนั้นเสียก่อน  เมื่อเราทำได้แล้วจึงมีความชอบธรรมในการเรียกร้องให้ผู้อื่นทำตามที่เราอยากให้ทำได้
การที่เราเรียกร้องสิ่งใดแล้วอยากให้สิ่งใดเกิดขึ้นกับสังคม  จึงต้องย้อนกลับมาดูที่ตนเองเป็นอันดับต้น  เพราะถ้าหากทุกคนสามารถทำให้ตนเองมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นได้  จะมีความจำเป็นที่จะต้องไปเรียกร้องความซื่อสัตย์ต่อสังคมหรือไม่  หากเราทุกคนรู้จักข้อบกพร่องแล้วแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองด้วยวิปัสนากรรมฐานโดยไม่เข้าข้างตนเอง  หากทุกคนทำได้จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องไปเรียกร้องความสงบสุขจากสังคม  หากเราจะเรียกร้องอะไรจากผู้อื่นและส่วนรวม  เราต้องมีความมั่นใจเสียก่อนว่าต้องทำเช่นนั้นให้ได้ก่อน  การพึ่งพาผู้อื่นจึงเป็นการปัดความรับผิดชอบในตน  เพราะแต่ละคนจะเกี่ยงให้คนอื่นเริ่มทำก่อน  เช่นคุณทำก่อน  เธอทำก่อน  แล้วผมค่อยทำ  แล้วทั้งคุณทั้งเธอทั้งหลายก็ย้อนกลับมาบอกให้ผมทำก่อน  เกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมาก็ทำอะไรไม่ได้เสียที  ปัญหาเรื่องการขาดความซื่อสัตย์หรือการขาดคุณธรรมใด ๆ  ก็ตามให้พิจารณาให้ดีว่าเป็นเช่นนี้หรือไม่  ถึงแม้ผู้เขียนจะเขียนเรื่องความซื่อสัตย์  แต่หลักการนี้เป็นเครื่องชี้นำแล้วนำไปประยุกต์ใช้กับคุณธรรมข้ออื่นได้ด้วย
การจะทำให้สังคมดีคือการทำให้แต่ละคนเป็นคนดี  ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวมจึงต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบในแต่ละคน  หากวันนี้เราจะไปเรียกร้องให้ผู้อื่นมีความซื่อสัตย์ต้องย้อนถามตนเองว่าตนเองมีความซื่อสัตย์แล้วหรือยัง  ด้วยเหตุนี้เราอยากได้สิ่งใดจึงต้องแสดงและทำสิ่งนั้นให้ผู้อื่นมองเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจไร้เจตนาแอบแฝงเสียก่อน  หากเราไปเรียกร้องให้ผู้อื่นทำกับเราก่อนยังเรียกร้องไม่ได้  แล้วจะไปเรียกร้องอะไรจากสังคมและส่วนรวมให้ต้องมีความซื่อสัตย์  รู้จักทำหน้าที่  ฯลฯ  นั่นเอง
                   



                                      


วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มงคลสูตรคำฉันท์

เรื่องย่อ เริ่มต้นกล่าวถึงมนุษย์และเทวดาได้พยายามค้นหาคำตอบว่า อะไรคือมงคล เป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี พระอานนท์ได้เล่าให้ฟังว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ ณ เชตวันมหาวิหารซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายไว้ ณ เมืองสาวัตถี มีเทวดาองค์หนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในเวลาปฐมยามแล้วได้ทูลถามเรื่องมงคล พระพุทธองค์จึงตรัสตอบถึงสิ่งที่ไม่เป็นมงคล ๓๘ ประการ หลังจากรับฟังเทศนาจบ เหล่าเทวดาก็บรรลุธรรม
มงคลทั้ง ๓๘ ประการ พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นคาถาบาลีเพียง ๑๐ คาถา แต่ละคาถาประกอบด้วย ๓-๕ ข้อ และมีคาถมสรุปตอนท้าย ๑ บท ชี้ให้เห็นเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถ้าปฏิบัติตามมงคลอันสูงสุด ๓๘ ประการนี้ได้ จะไม่พ่ายแพ้แก่ข้าศึกศัตรูและจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองสืบไป
ลักษณะคำประพันธ์
มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นโยทรงนำคาถาบาลาที่เป็นมงคลสูตรซึ่งมีอยู่ในพระไตรปิฏกมาแปล แล้วทรงเรียบเรียงแต่งเป็นบทประพันธ์ร้อยกรองที่มีสัมผัสคล้องจอง ท่องจำง่าย และสามารถพรรณนาความได้อย่างไพเราะจับใจ โดยทรงใช้คำประพันธ์ ๒ ประเภท คือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (ดูแบบแผนการประพันธ์และฉันทลักษณ์ได้ในหน่วยการเรียนรู้ที่๑ เรื่องคำนมัสการคุณานุคุณ) โดยลงท้ายคำประพันธ์ทุกบทด้วยข้อความเดียวกันว่าข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
ซึ่งมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ที่ว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
ประวัติผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ครองราชย์ (.. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) ทรงประกอบราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครอง การต่างประเทศ โยเฉพาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายอย่าง เช่น บทละคร บทความ นิทาน นิยาย สารคดี เป็นต้น และทรงใช้งานพระราชนิพนธ์เป็ฯสื่อสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องที่ยังได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีหรือเป็นหนังสือที่แต่งดี อาทิ หัวใจนักรบ เป็นยอดของบทละครพูดร้อยแก้ว
มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครคำพูดฉันท์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้รับการถวายพระราชสมญานามว่าสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าซึ่งมีความหมายว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และในพ.. ๒๕๑๕ พระองค์ทรงยังได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ให้ทรงเป็น ๑ ใน ๕ นักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของไทย

บทวิเคราะห์
คุณค่าด้านเนื้อหา
มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาเป็นคำสอนทางพระพุทธศาสนา ว่าด้วยเรื่องของ มงคล ๓๘ ประการ ซึ่งเป็นคำสอนที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ โดยเน้นที่การปฏิบัติด้วยตนเองลำดับจากง่ายไปยาก ถ้าปฏิบัติได้แล้ว จะทำให้ชีวิตมีแต่ความก้าวหน้าและผาสุก โดยไม่ต้องอาศัยปัจจัยใดๆ เนื่องจากการปฏิบัติด้วยตนเองย่อมมอบความเป็นมงคลที่แท้จริงให้แก่ชีวิต ซึ่งจะนำพาชีวิตของแต่ละคนไปในทางที่เจริญแล้ว ยังทำให้สังคมโดยรวมสงบสุขและเจริญก้าวหน้าไปด้วย
นอกจากนี้คำสอนในมงคล ๓๘ ประการยังเป็นแนวทางที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ด้วยมีความสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในทุกวัย โดยเริ่มต้นจากระดับพื้นฐานที่สำคัญ คือ การคบคน
คำประพันธ์บทนี้กล่าวถึงมงคลประการที่ ๑ ถึง ๓ ซึ่งเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการคบคนหรือการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคลรอบข้าง เริ่มตั้งแต่การหลีกเลี่ยงจากคนพาล การสมาคมกับคนดี และการมีสัมมาคารวะต่อบุคลที่เคารพ ซึ่งล้วนเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับทุกคน เนื่องจากการที่เราคบคนเช่นใด โอกาสที่จะทำให้เรากลายเป็นคนเช่นนั้นหรือมีพฤติกรรมที่คล้ายกัน และนอกจากการรู้จักเลือกคบคนแล้ว การมีสัมมาคารวะหรือการรู้จักเคารพต่อบุคคลที่ควรบูชาเคารพ ย่อมทำให้เราเป็นที่รักใคร่ของบุคคลทั่วไป และยังได้รับความเมตตาหรือคำแนะนำที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อชีวิตอีกด้วย

นอกจากมงคลสูตรคำฉันท์จะมีการแปลและเรียบเรียงเนื้อความจากคาถาภาษาบาลีแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงอธิบายขยายความมงคลในแต่ละข้อเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจความหายได้อย่างชัดเจน เช่นในคาถาที่ ๗ กล่าวถึงมงคลข้อที่ ๒๒ คือ มีความเคารพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงอธิบายให้ชัดเจนว่า ควรมีความเคารพผู้ใด และในมงคลข้อที่ ๒๔ มีความสันโดษ

คุณค่าด้านวรรณศิลป์
เนื้อความในมงคลสูตรคำฉันท์ แม้จะมีที่มาจากคาถาภาษาบาลีและมีคำศัพท์ในทางพระพุทธศาสนา แต่ก็เป็นคำที่เข้าใจความหายได้ไม่ยาก เช่น โสตถิ ภควันต์ เป็นต้น
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงสามารถถ่ายทอดและเรียบเรียงเนื้อความเป็นภาษาไทยได้อย่างเรียบง่าย แต่มีความไพเราะ และสามารถสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน